วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Citizenship Day พลเมืองอเมริกัน

คำว่าวันพลเมือง(CITIZENSHIP DAY)
เมื่อเป็นพลเมืองอเมริกันแล้ว เราจะต้องทราบความหมายของวันพลเมืองหรือ Citizenship Day และสัปดาห์แห่งรัฐธรรมนูญ( Constitution Week) ห้วงเวลาดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบที่บัญญัติโดยกฎหมายสูงสุดของแผ่นดิน


ถึงที่เป็นวันเปิด


นั่นคือรัฐธรรมนูญ แต่ละปีจะจะใช้วันที่ 17 กันยายนเป็นวันแห่งความรำลึกถึง เหตุที่ใช้วันนี้เพราะเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1787 ผู้แทนของ 12 รัฐได้มาลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย เรียกการประชุมครั้งนั้นว่า the Constitutional Convention














วันพลเมือง(Citizenship Day)เกิดขึ้นเมื่อปี 1915 ในสมัยประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ท่านเป็นผู้เรียกเองว่า National Americanization Day เป็นวันที่บุคคลสำคัญต่างๆได้กล่าวสุนทรพจน์ไปทั่วประเทศให้ความสำคัญของวันนี้



ต่อมาในปี 1952 ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน ได้ลงนามให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายเรียกวันพลเมือง( Citizenship Day) ตรงกับวันที่ 17 กันยายน







รัฐบาลต้องการส่งเสริมสัปดาห์รัฐธรรมนุญตั้งแต่วันที่17-23 กันยายน เรียกว่า “Constitution Week”. 17 กันยายน 2004 ได้เปลื่ยนชื่อจากCitizenship Day



เป็น “Constitution Day and Citizenship Day และวันที่ 17 กันยายน 2005 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช ได้เรียกร้องให้พลเมืองเมริกันทุกคนอุทิศตนแก่ประเทศสหรัฐ โดยยอมรับว่า”คนอเมริกันไม่ได้รวมกันเพราะสายเลือด เพราะการกำเนิดหรือเพราะแผ่นดิน แต่ทุกคนมารวมกันด้วยแนวความคิดเหนือพื้นภูมิหลัง สามารถรวมกันด้วยผลประโยชน์ร่วม นี่คือความเป็นพลเมืองอเมริกัน”
การเป็นพลเมืองอเมริกันไม่ว่าจะเป็นโดยกำเนิด (by birth)หรือโดยแปลงสัญชาติ ( by naturalization) ก็คือพลเมืองอเมริกันมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตัวแทนของตนทุกระดับเข้าไปบริหารประเทศ แต่จะต้องขอใช้สิทธิ์ด้วยการลงทะเบียนเลือกตั้ง บุคคลที่แปลงสัญชาติก่อนจะเป็นพลเมืองโดยสมบูรณ์จะต้องกล่าวคำปฏิญานตน( the Oath of Allegiance)เพื่อประกาศตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศ ปกป้องสหรัฐ,รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ สำหรับตัวเลขพลเมืองอเมริกันที่มาจากการแปลงสัญชาติมีดังนี้ ปี 2001-2004 มีผู้แปลงสัญชาติมากกว่า 2 ล้านคน ระหว่างตุลาคม 2004- สิงหาคม 2005 มีผู้แปลงสัญชาติ 475,000 คน ในระหว่างปี 1991-2000 มีผู้แปลงสัญชาติมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันคือ 5.6 ล้านคน
ในช่วงทศวรรษ 1990 ผู้แปลงสัญชาติหากนับพื้นเพเดิมมากที่สุดคือชาวแม็กซิกัน,เวียดนามและฟิลิปปินส์

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติวันแม่

กำเนิดวันแม่นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า วันแม่กำเนิดขึ้นตั้งแต่บรรพกาล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งหมายถึง เทพมารดา(แม่ของเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย) ส่วนในอาณาจักรกรีกโบราณจะหมายถึงเทพรี(Rhea) ภรรยาของเทพสูงสุดโครนัส และเป็นแม่ของเหล่าเทพชายและเทพหญิงทั้งหลาย ขณะที่ในโรมันเทศกาลคล้ายกันนี้ จัดขึ้นเพื่อสักการะเทพไซเบล(Cybele) ซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสตกาลประมาณ 250 ปี

ในโดยกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 15 ถึง 18 มีนาคม ต่อมา ราวคริสตศวรรษที่ 17 ประเทศอังกฤษเริ่มฉลองวันแม่ในรูปแบบใหม่ โดยเรียกว่า วันอาทิตย์แห่งแม่(Mothering Sunday) ซึ่งอยู่ในวันอาทิตย์ที่ 4 ของช่วงกลางฤดูถือบวช(กินระยะประมาณ 8 สัปดาห์และสิ้นสุดที่เทศกาลอีสเตอร์) โดยเปลี่ยนจากการสักการะเทพไซเบลมาเป็น การบูชามารดาแห่งโบสถ์(Mother Church) หรือพระแม่มารี(แม่ของพระเยซูคริสต์)แทน เพราะว่าเมื่อคริสตศาสนิกชนไป ล้างบาปจะนึกถึงมารดาแห่งโบสถ์เป็นสำคัญแต่วันแม่ในยุคใหม่และเป็นสากลนั้นเริ่มขึ้นที่สหรัฐอเมริกา โดยมีสแอนนา เอ็ม. จาร์วิส ผู้ซึ่งผลักดันให้เกิดวันแม่ขึ้นมา ทั้งๆ ที่ตัวแอนนาเองไม่มีการโอกาสเป็นแม่คน(ครองโสดตลอดชีวิต เพื่อดูแลน้องสาวตาบอด) แต่ด้วยความรักที่มีต่อแม่ จึงทำให้มี วันแม่ในวันนี้ขึ้น มีสซีสแอนนา รีส จาร์วีส คือชื่อของผู้เป็นแม่ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้มีวันแม่ขึ้น เธอเป็นผู้รับใช้ทางศาสนาโดย อุทิศตนเป็นครูสอนในโรงเรียนวันอาทิตย์กว่า 20 ปี ในเวอร์จีเนีย ตะวันตก และได้ย้ายไปฟิลาเดเฟีย เพนซิลเวเนีย จนกระทั่งเสีย ชีวิตใน ค.ศ. 1950


แอนนา เอ็ม. จาร์วิส ผู้ให้กำเนิดวันแม่ใน สหรัฐอเมริกา


ด้วยความคิดถึงแม่อย่างมาก หลังจากการจากไปประมาณ 2 ปี มีสแอนนา พร้อมเพื่อนๆ ได้ร่วมกันร่างจดหมายรณรงค์ ขอการสนับสนุนจากข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดให้มีวันหยุดเป็นวันแม่แห่งชาติขึ้นมา เพราะเธอรู้สึกว่าบุตรหลานต่าง ปล่อยปะละเลยแม่ และไม่เอาใจใส่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่าที่ควร โดยหวังว่า วันแม่ จะเป็นวันที่ เพิ่มความเคารพต่อบุพการีและสร้างความแข็งแกร่งแก่สถาบันครอบครัว

10 พฤษภาคม คศ.1908 คือวันแม่วันแรกที่จัดขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่มีสซีสแอนนา รีส จาร์วีส โดยมีดอกคาร์เนชั่นสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกถึงความรักที่มีต่อแม่ เพราะเป็นดอกไม้ที่มีสซีสแอนนาชอบที่สุด อีกทั้งยังแสดงถึงความอ่อนหวาน บริสุทธิ์ และเป็นอมตะอยู่เสมอ ภายหลังดอกคาร์เนชั่นสีขาวเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการรำลึกถึงแม่ที่สูญเสียไปแล้ว และดอกคาร์เนชั่นสีแดงจะแสดงถึงแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู


แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว


วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ดังนี้

อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคม

กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ใน ทวีปอเมริกาใต้บาห์เรน.ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
26 พฤษภาคม โปแลนด์
27 พฤษภาคม โบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่ประเทศไทย

ความหมายพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
๑) แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯรวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน

๒) ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก๓) ภรรยา หรือภริยา หมายถึง- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติวันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน

เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น

มีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่2 งานวันแม่จึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤตสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อพื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีกแต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรและมีการเปลื่ยนกำหนดหลายครั้ง

จนได้วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล

ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

แต่ต้องมาหยุดชะงักลงอีกเนื่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งเป็นผู้จัดขาดผู้สนับสนุนเพราะกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบนั้นเองต่อมาวมาคมครูคาทอริกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดวันแม่ขึ้นมาใหม่ คือ วัน ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙คณะกรรมการอำนวยการสภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์กำหนดให้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราแม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ

ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น

สดสะอาดปราศสีราคีระคน

เหมือนกมลใสสดหมดระคาย

กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง

เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย

อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย

ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

ดอกไม้ประจำวันแม่ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ ถูกเลือกเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย


มะลิมีลักษณะต้นเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อย ใบมีทั้งใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งแบบใบอยู่ตรงกันข้าม ใบแบบสลับกัน ดอกมีสีขาว กลีบดอกมีชั้นเดียวและหลายชั้น เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่งส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ โดยปกติดอกจะเริ่มบานในเวลาบ่ายแล้วร่วงในวันรุ่งขึ้น มะลิจะให้ดอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝนแล้วจะน้อยที่สุดในฤดูหนาว
มะลิเป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย นอกจากการใช้ประโยชน์จากดอกมะลิแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ เช่นดอกสด ดอกแห้ง ใบสด ต้น ราก
ดอกมะลิ มีหลายชนิดหลายพันธุ์ เท่าที่ คุ้นๆ ชื่อกัน ก็มีทั้ง ดอกมะลิซ้อน มะลิลา มะลิวัลย์ ฯลฯ ค่ะ
มะลิซ้อน มะลิลา เป็นไม้พุ่ม มีสูงประมาณ 1.5 เมตร มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกันบางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นแบบใบเดี่ยวออกตรงข้าม สีเขียวอมเหลือง สัณฐานของใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกลาออกเป็นช่อเล็ก ๆ ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน กลีบดอกจะบานก่อน กลีบดอกสีขาวโคนดอกติดกันเป็นหลอดสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอมชื่นใจและค่อนข้างจัด เกสรตัวผู้มี 2 อัน ออกเอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและการตอน
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น

มะลิซ้อน



ดอกสด - ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัดดอกแห้ง - ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น ใบสด - นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ ต้น - ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง


มะลิวัลย์
ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้ จากการที่มีการนำมะลิมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน จึงทำให้มะลิเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางการค้ามากขึ้น พื้นที่ปลูกที่สำคัญของไทย ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำพูน หนองคาย และสมุทรสาคร การจำหน่ายมะลิจะมีทั้งในและต่างประเทศโดยตลาดต่างประเทศจะมีการส่งออกในรูปของพวงมาลัย ดอกมะลิสดและต้นมะลิ
ที่มา.
วิกิพีเดีย +
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=437870
http://webserv.kmitl.ac.th/